dot dot
dot
dot



car2day

Next gen ford,ranger,raptor



4 เคล็ดลับเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์

ในวันที่ประเทศไทยของเราดูเหมือนจะกลายเป็นเมืองขึ้นของพระอาทิตย์ไปแล้ว ถ้าเราจะมัวหวังพึ่งแค่ครีมกันแดด SPF สูงๆ เลี่ยงการปะทะกับเจ้าแสงแดดตัวร้ายทำลายผิว และอดทนกับความเหนียวของเจ้าค่า SPF นั้นคงไม่ได้อีกต่อไป


เคล็ดลับเลือกฟิล์มกรองแสง,เคล็ดลับเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์,ฟิล์มกรองแสงรถยนต์,ฟิล์มกรองแสง,เลือกฟิล์มกรองแสง,ฟิล์มกรองแสงยี่ห้อไหนดี


นอกจากความรู้เรื่องสกินแคร์ตัวไหนดี คลีนิคผิวที่ไหนช่วยเยียวยา อีกตัวช่วยหนึ่งที่ควรรู้ คือ การเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ที่การันตีว่ามีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีตัวร้ายให้กับเราในเวลาที่ต้องขับรถ  โดยเฉพาะช่วง 10.00 - 16.00 น. ที่แพทย์ผิวหนังยืนยันว่าผิวของเราจะโดนทำลายได้มากที่สุด 

วันนี้เราจะมาบอกสิ่งที่สาวๆ “ต้องรู้” ก่อนเลือกและควักกระเป๋าเพื่อติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่โฆษณาชวนเชื่อว่ากันรังสียูวีโน่นนี่ได้จริงๆ หลักง่ายๆ 3 ข้ออยู่ในพารากราฟต่อจากนี้

1. อย่าเลือกฟิล์มที่ลดแสงจ้าเพียงอย่างเดียว ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ดีต้องมีความสามารถในการลดความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก เพราะความเข้มไม่ได้แปลว่าลดความร้อนได้สูง สาวๆ ควรดูจากเปอร์เซ็นต์การลดความร้อนจากแสงแดดเป็นเรื่องสำคัญ อ๊ะอ๊ะ ไม่ใช่แสงจากหลอดไฟสปอตไลท์หรือหลอดอินฟาเรดนะจ๊ะ, เปอร์เซ็นต์การลดรังสียูวี, เปอร์เซ็นต์การสะท้อนแสง และเปอร์เซ็นต์แสงส่องผ่าน เช่น ฟิล์มที่มีค่าแสงส่องผ่าน 5% การสะท้อนแสง 5% การลดความร้อนจากแสงแดด 76% และการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลต 99% เป็นต้น

2. อย่าลืมการบริการหลังการขายและระยะเวลารับประกัน สิ่งสำคัญที่สาวๆ ต้องพิจารณาควบคู่ในการตัดสินใจนั่นคือการบริการหลังการขาย ซึ่งโดยทั่วไปการรับประกันคุณภาพไม่ควรต่ำกว่า 7 ปี (ถ้า 10 ปี หรือตลอดชีพอันนี้ก็เกินไป) และ “ต้อง” ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จำหน่ายอยู่มานาน มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือพอจะให้การรับประกันได้จริงอย่างต่อเนื่องไม่หนีหาย

3. อย่าเลือกร้านติดตั้งที่ไม่การันตีช่างชำนาญการ ส่วนสำคัญที่สุดที่สาวๆ จะได้รับฟิล์มกรองแสงที่เรียบร้อยไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง เลือกร้านที่การันตีช่างชำนาญการ อีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีคือหาข้อมูลตามเว็บไซต์ คลับรถรุ่นที่เราใช้ และเลือกสาขาที่สะดวกในการเดินทาง

4. อย่าเลือกฟิล์มแค่กันรังสียูวี แต่กั้นสัญญาณดิจิทัลสมัยนี้ที่ทุกแบรนด์ล้วนโฆษณากันครึกโครมว่าฟิล์มกรองแสงที่ขายอยู่นั้นกันรังสียูวีแต่ไม่ผ่านสัญญาณดิจิทัล แนะนำว่าในสมัยนี้ควรเลือกฟิล์มที่เป็นเซรามิค ซึ่งนอกจากจะกันรังสียูวีได้ดีเยี่ยม ยังรองรับทุกสัญญาณดิจิทัลด้วย ที่สำคัญคือสาวๆ อย่างเราต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่พิสูจน์ได้จริง เอาแค่ 2 สัญญาณในชีวิตประจำวันของสาวๆ อย่างเรา คือ สัญญาณอีซี่พาสผ่านทางด่วนและสัญญาณจีพีเอสเวลาเดินทาง

รู้กันแล้วก็อย่าลืมจำเอาไปใช้จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปเปล่าๆ เวลาเลือกติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์....

 

 




AutoTrick

5 ขั้นตอนเตรียมรถให้พร้อมขับช่วงฝนตกหนัก
แอร์รถสะอาด สำคัญกว่าที่คิด???
เปิด 6 ข้อก่อนคืดซื้อ EV Car ตอบโจทย์เทรนด์ Eco-Friendly แค่ไหน
4 ข้อดีของการนำรถเข้าศูนย์บริการตัวถังและสีมาตรฐาน
6 เคล็ดไม่ลับการเลือกซื้อรถคันแรกอย่างชาญฉลาด
เทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยในเชฟโรเลตช่วยให้ปลอดภัยในฤดูฝน
เคล็ดลับลดความเครียด สร้างความสุขง่ายๆ บนท้องถนน
แนะนำเคล็ดลับขับขี่เที่ยวภูเขาอย่างปลอดภัยช่วงหน้าฝนกับเชฟโรเลต
DIY ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดหม้อน้ำ Honda cb650f ปี 2017 (มีVDO)
เคล็ดลับความสนุกสุดเหวี่ยงบนรถเอสยูวีในวันหยุด
5 เคล็ดลับขับขี่ปลอดภัยช่วงปีใหม่ จากกองบังคับการตำรวจจราจร
แนะนำเส้นทางเลี่ยงรถติดในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560
ซื้อประกันภัยรถยนต์ต้องเปรียบเทียบอะไรบ้าง? ตอน “เงื่อนไขของกรมธรรม์”
ขับรถอย่างปลอดภัยในช่วงหน้าฝน
เทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ Honda SENSING ใน New Honda Accord Hybrid
การเติมลมยางที่ถูกต้องนั้นทำได้อย่างไร
เอ็มจี แนะนำเคล็ดลับขับขี่ทางไกลให้ปลอดภัยทุกเส้นทาง
รู้หรือไม่...สัญลักษณ์บนแก้มยางมีความหมายอย่างไร
มารู้จักระบบขับเคลื่อนในรถกระบะและรถเอสยูวี
วิธีง่ายๆในการดูแลรักษาหม้อน้ำ
เชฟโรเลตแนะนำ 12 เคล็ดลับ เพื่อเพิ่มการประหยัดน้ำมันสูงสุด
ระบบตรวจจับ...คนขับรถหลับใน
เชฟโรเลตแนะนำเคล็ดลับขับขี่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่
เลือกซื้อยางรถยนต์ให้เหมาะสมกับรถของคุณ
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงขณะขับรถ เพื่อถนนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ทันเกมส์พนักงานเคลมประกัน
8 เคล็ดลับดูแลยาง ใช้ได้นานและช่วยประหยัดน้ำมัน
รถเสียศูนย์ คุณก็สังเกตเองได้
เตรียมรถ...สู่ร้อน??
เส้นทางเลี่ยงรถติดช่วงเทศกาล
รันอิน คืออะไร
ใบปัดน้ำฝน สิ่งสำคัญที่ถูกมองข้าม
ไส้กรองอากาศรถยนต์
ว่าด้วยเรื่องของคลัตช์
การตรวจสภาพรถ
ขับขี่ปลอดภัยช่วงวันหยุดยาวไปกับสาระน่ารู้จากฟอร์ด
น้ำมันเครื่องสำคัญแค่ไหน ??



Copyright © 2011 All Rights Reserved.