มร.เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค มาร์เก็ตติ้ง แอนด์เซลส์ / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง / กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2558 มีปริมาณการขาย 369,109 คัน ลดลง 16.3% พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2558 อยู่ในระดับไม่เกิน 800,000 คัน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโอกุระ กรุงเทพฯ
มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์ครึ่งแรกของปี ในประเทศไทยมียอดขายรวมอยู่ที่ 369,109 คัน มีอัตราการเติบโตลดลง 16.3% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 13.6% ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายลดลง 20.1% หากเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2557 จะพบว่ายอดขายได้ปรับตัวลง เป็นผลจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงจำกัด รวมถึงความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาคครัวเรือนและภาคเอกชนระมัดระวังในการใช้จ่ายและการลงทุน
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2558
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2557
ปริมาณการขายรวม 369,109 คัน เปลี่ยนแปลง -16.3%
รถยนต์นั่ง 146,862 คัน เปลี่ยนแปลง - 20.1%
รถเพื่อการพาณิชย์ 222,247 คัน เปลี่ยนแปลง - 13.6%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 171,601 คัน เปลี่ยนแปลง -19.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 156,247 คัน เปลี่ยนแปลง - 15.9%
โดยโตโยต้ามียอดขาย 123,125 คัน ลดลง 24.9% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 53,285 คัน ลดลง 30.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 69,840 คัน ลดลง 20.2% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 64,435 คัน ลดลง 22.0%
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2558
ปริมาณการขายโตโยต้า 123,125 คัน ลดลง 24.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
รถยนต์นั่ง 53,285 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 69,840 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 64,435 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 59,376 คัน ลดลง 17.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 163,403 คัน ลดลง 29% คิดเป็นมูลค่า 76,722 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 33,570 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 110,292ล้านบาท”
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2558 มร.ทานาดะ คาดการณ์ว่า “ถึงแม้ว่าครึ่งปีแรกตลาดรถยนต์จะลดลงถึง 16.3% แต่ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนจากภาครัฐ ที่ส่งผลในเชิงบวกต่อภาพรวมของการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลายค่ายรถยนต์ และการส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบต่อเนื่องในต้นปี ทำให้ตลาดรถยนต์ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้จะมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 800,000 คัน
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2558
ปริมาณการขายรวม 800,000 คัน
รถยนต์นั่ง 304,400 คัน
รถเพื่อการพาณิชย์ 495,600 คัน
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 393,100 คัน
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 350,800 คัน
โตโยต้าปรับเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 280,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 105,700 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 174,300 คัน และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 164,200 คัน”
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2558
ปริมาณการขายรวม 280,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
รถยนต์นั่ง 105,700 คัน ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
รถเพื่อการพาณิชย์ 174,300 คัน ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 164,200 คัน ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 138,100 คัน ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
โตโยต้ามุ่งเน้นการส่งออก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
มร.ทานาดะ กล่าวต่อไปว่า “ในครึ่งปีหลัง โตโยต้า พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยจะมุ่งเน้นการส่งออก เพื่อรักษายอดขายรวมของบริษัทฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิของประเทศไทยให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้ายังคงอยู่ที่ประมาณ 390,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 192,300 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 66,170 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 258,470 ล้านบาท”
พร้อมยกระดับประเทศไทยเป็นสำนักงานใหญ่ แห่งที่ 2
ในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิค
มร.ทานาดะ กล่าวย้ำความเชื่อมั่นในประเทศไทย “โตโยต้า มีความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมที่จะลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย เพื่อให้ไทยเป็นสำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในภูมิภาคนี้ ด้วยการดำเนินการของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง ที่มีคนไทยเป็นส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาและยกระดับการปฏิบัติงานในภาคพื้นเอเซีย แปซิฟิค ทั้งในด้าน
• การวิจัยและพัฒนา
• วิศวกรรมการผลิต
• การพัฒนาขีดความสามารถผู้ผลิตชิ้นส่วน
รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ ในระดับสากล เพื่อให้ภูมิภาคนี้มี “รถคุณภาพระดับโลก” ที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากฝีมือคนไทย และนี่คืออีกหนึ่งความภูมิใจของเราที่จะเติบโตไปพร้อมกับคนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” มร.ทานาดะกล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2558
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,322 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,831 คัน ลดลง 20.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,833 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,918 คัน ลดลง 12.9% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 21,283 คัน ลดลง 35.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,472 คัน ลดลง 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,016 คัน ลดลง 40.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,070 คัน เพิ่มขึ้น 44.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 30,279 คัน ลดลง 10.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,456 คัน ลดลง 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,758 คัน ลดลง 21.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,794 คัน เพิ่มขึ้น 10.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,340 คัน
อีซูซุ 926 คัน – มิตซูบิชิ 676 คัน – โตโยต้า 632 คัน– เชฟโรเลต 106 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,939 คัน ลดลง 6.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,824 คัน เพิ่มขึ้น 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,832 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,118 คัน เพิ่มขึ้น 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,039 คัน ลดลง 4.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,359 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,833 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,902 คัน เพิ่มขึ้น 362.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน2558
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 369,109 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 123,125 คัน ลดลง 24.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 69,281 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 54,793 คัน เพิ่มขึ้น 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 14.8%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 146,862 คัน ลดลง 20.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 53,285 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 38,798 คัน ลดลง 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 26.4%
อันดับที่ 3 มาสด้า 10,986 คัน เพิ่มขึ้น 55.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 171,601 คัน ลดลง 19.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 64,435 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 63,181 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,819 คัน ลดลง 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 15,354 คัน
อีซูซุ 6,215 คัน – โตโยต้า 5,059 คัน – มิตซูบิชิ 3,366 คัน - เชฟโรเลต 698 คัน - ฟอร์ด 16 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 156,247 คัน ลดลง 15.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 59,376 คัน ลดลง 17.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 56,966 คัน ลดลง 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,453 คัน ลดลง 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 222,247 คัน ลดลง 13.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 69,840 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 69,281 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 15,995 คัน เพิ่มขึ้น 240.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%