นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2556 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 100,289 คัน ลดลง 22.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 51,006 คัน ลดลง 16.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 49,283 คัน ลดลง 28.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 40,519 คัน ลดลง 32.9%
ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคมมีปริมาณการขาย 100,289 คัน ลดลง 22.6% โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 51,006 คัน ลดลง 16.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 49,283 คัน ลดลง 28.1% รวมถึงรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 40,519 คัน ลดลง 32.9% ทั้งนี้ตลาดรถยนต์ที่ลดลงเป็นการลดเข้าสู่ระดับการขายปกติที่ประมาณ 100,000 คันต่อเดือน
ตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน มีปริมาณการขาย 939,342 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขายสะสมที่ 450,548 คัน เพิ่มขึ้น 17.6%
ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขายสะสมที่ 488,794 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 0.8% อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ดีการเร่งส่งมอบรถค้างจองในช่วงต้นปีและกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถที่เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 นั้นมีส่วนสำคัญในการชะลอการลดลงของตลาดที่กำลังปรับเข้าสู่ภาวะการขายในระดับปกติ
ตลาดรถยนต์ในเดือน กันยายน แนวโน้มทรงตัว ตามสภาวะปกติของตลาด แม้ 4 เดือนที่ผ่านมาจะปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ดัชนีฤดูกาลชี้ว่าเดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดในไตรมาส3 ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆและกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆจากบริษัทรถยนต์ในหลากหลายรูปแบบที่เอื้อต่อการตัดสินใจของลูกค้า ล้วนมีส่วนทำให้อัตราการเติบโตในเดือนกันยายนทรงตัว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2556
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 100,289 คัน ลดลง 22.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 31,231 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 15,762 คัน ลดลง 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 15.7%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 14,276 คัน ลดลง 24.6% ส่วนแบ่งตลาด 14.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 51,006 คัน ลดลง 16.4%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 14,525 คัน ลดลง 18.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,706 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,758 คัน ลดลง 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 40,519 คัน ลดลง 32.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,972 คัน ลดลง 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,265 คัน ลดลง 30.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,696 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,691 คัน
โตโยต้า 2,074 คัน - มิตซูบิชิ 987 คัน - เชฟโรเลต 545 คัน - ฟอร์ด 43 คัน - อีซูซุ 42 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,828 คัน ลดลง 30.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,898 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,223 คัน ลดลง 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,709 คัน ลดลง 44.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 49,283 คัน ลดลง 28.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,525 คัน ลดลง 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,276 คัน ลดลง 24.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,696 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2556
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 939,342 คัน เพิ่มขึ้น 8.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 302,713 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 163,259 คัน เพิ่มขึ้น 87.7% ส่วนแบ่งตลาด 17.4%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 149,413 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 15.9%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 450,548 คัน เพิ่มขึ้น 17.6%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 146,890 คัน เพิ่มขึ้น 73.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 127,055 คัน ลดลง 13.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 53,818 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 408,183 คัน ลดลง 3.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 162,546 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 132,204 คัน เพิ่มขึ้น 8.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 40,291 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 38,517 คัน
โตโยต้า 20,545 คัน - มิตซูบิชิ 11,362 คัน - เชฟโรเลต 4,952 คัน - อีซูซุ 1,316 คัน - ฟอร์ด 342 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 369,666 คัน ลดลง 2.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 142,001 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 130,888 คัน เพิ่มขึ้น 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 28,929 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 488,794 คัน เพิ่มขึ้น 0.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 175,658 คัน ลดลง 6.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 149,413 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 40,291 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%