นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2556 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 98,251 คัน ลดลง 25.4% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 47,484 คัน ลดลง 26.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 50,767 คัน ลดลง 24.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 41,469 คัน ลดลง 29.6%
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคมมีปริมาณการขาย 98,251 คัน ลดลง 25.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงสภาพตลาดในครึ่งปีหลังที่กำลังปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ หลังจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 47,484 คัน ลดลง 26.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 50,767 คัน ลดลง 24.6% รวมถึงรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 41,469 คัน ลดลง 29.6%
ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 839,046 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขายสะสมที่ 399,535 คัน เพิ่มขึ้น 24.1% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขายสะสมที่ 439,511 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 5.6% ทั้งนี้ตลาดรถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปี มียอดขายที่สูงกว่าสภาวะปกติซึ่งเป็นผลจากการส่งมอบรถยนต์ที่ค้างจองจากโครงการรถยนต์คันแรก และเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวเพื่อเข้าสู่สภาวะปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม มีแนวโน้มทรงตัวตามภาวะปกติ ตลาดรถยนต์มีสัญญาณการปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากการสิ้นสุดนโยบายรถยนต์คันแรก ประกอบกับตลาดรถยนต์จะปรับตัวลดลงตามฤดูการขายซึ่งเป็นสถานการณ์ปกติ แต่อย่างไรก็ดีการเร่งทำกิจกรรมทางการตลาดและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทรถยนต์ต่างๆ จะเป็นปัจจัยบวกในการกระตุ้นยอดขายรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2556
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 98,251 คัน ลดลง 25.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 34,164 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 16,039 คัน ลดลง 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 16.3%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 14,718 คัน ลดลง 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 47,484 คัน ลดลง 26.3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 14,959 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,012 คัน ลดลง 35.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 4,526 คัน ลดลง 30.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 41,469 คัน ลดลง 29.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,389 คัน ลดลง 25.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,494 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,125 คัน ลดลง 60.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,336 คัน
โตโยต้า 2,706 คัน - มิตซูบิชิ 828 คัน - เชฟโรเลต 696 คัน - อีซูซุ 64 คัน - ฟอร์ด 42 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 37,133 คัน ลดลง 28.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,683 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,430 คัน ลดลง 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,297 คัน ลดลง 53.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 50,767 คัน ลดลง 24.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,152 คัน ลดลง 24.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,718 คัน ลดลง 11.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,125 คัน ลดลง 60.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2556
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 839,046 คัน เพิ่มขึ้น 13.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 271,482 คัน ลดลง 6.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 147,497 คัน เพิ่มขึ้น 114.3% ส่วนแบ่งตลาด 17.6%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 135,137 คัน เพิ่มขึ้น 18.5% ส่วนแบ่งตลาด 16.1%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 399,535 คัน เพิ่มขึ้น 24.1%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 132,365 คัน เพิ่มขึ้น 97.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 113,349 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 28.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 48,060 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 367,664 คัน เพิ่มขึ้น 1.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 146,574 คัน ลดลง 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 119,939 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 36,595 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 34,826 คัน
โตโยต้า 18,471 คัน - มิตซูบิชิ 10,375 คัน - เชฟโรเลต 4,407 คัน - อีซูซุ 1,274 คัน - ฟอร์ด 299 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 332,838 คัน เพิ่มขึ้น 2.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 128,103 คัน ลดลง 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 118,665 คัน เพิ่มขึ้น 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 26,220 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 439,511 คัน เพิ่มขึ้น 5.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 158,133 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 135,137 คัน เพิ่มขึ้น 18.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 36,595 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%