มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2555 คาดตลาดรวมในประเทศปี 2556 ขายมากกว่า 1.2 ล้านคัน เป้าหมายการขายโตโยต้า 500,000 คัน ตลาดรถยนต์ปี 2555 ยอดขายรวม 1,436,335 คัน เพิ่มขึ้น 80.9%
มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์ในปี 2555 ได้สร้างสถิติใหม่ของยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยยอดขาย 1,436,335 คัน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยอดขายรถยนต์ของไทย ทั้งนี้ความต้องการของตลาดรถยนต์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กระตุ้นการบริโภคภายใน
นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐในโครงการรถยนต์คันแรก และปริมาณความต้องการสะสมอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติในปี 2554 ประกอบกับกำลังการผลิตรถยนต์ ในประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น
สถิติการขายรถยนต์ ในปี 2555
ปริมาณการขายรวม 1,436,335 คัน เปลี่ยนแปลง +80.9% เทียบกับปี 2554
รถยนต์นั่ง 672,460 คัน เปลี่ยนแปลง +86.6% เทียบกับปี 2554
รถเพื่อการพาณิชย์ 763,875 คัน เปลี่ยนแปลง +76.2% เทียบกับปี 2554
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 666,106 คัน เปลี่ยนแปลง +82.2% เทียบกับปี 2554
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 592,725 คัน เปลี่ยนแปลง +81.0% เทียบกับปี 2554
โดยโตโยต้ามียอดขาย 516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 224,816 คัน เพิ่มขึ้น 62.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 291,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.7% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 269,722 คัน เพิ่มขึ้น 99.8%
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2555
ปริมาณการขายโตโยต้า 516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
รถยนต์นั่ง 224,816 คัน เพิ่มขึ้น 62.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
รถเพื่อการพาณิชย์ 291,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 269,722 คัน เพิ่มขึ้น 99.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 233,393 คัน เพิ่มขึ้น 91.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
ด้านการส่งออกในปีที่ผ่านมา โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 405,892 คัน เพิ่มขึ้น 61.8% คิดเป็นมูลค่า 179,572 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 63,023 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออก ที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 242,595 ล้านบาท”
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2556 มร.ทานาดะ กล่าวว่า “แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2556 คาดว่าจะมียอดขายรวมทั้งหมด มากกว่า 1,200,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10%
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2556
ปริมาณการขายรวม >1,200,000 คัน ลดลง ~10.0%
รถยนต์นั่ง 542,300 คัน ลดลง 19.4%
รถเพื่อการพาณิชย์ 707,700 คัน ลดลง 7.4%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 631,900 คัน ลดลง 5.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 567,100 คัน ลดลง 4.3 %
โดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 500,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 200,000 คัน ลดลง 11.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 300,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.0% และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 285,000 คัน เพิ่มขึ้น 5.6%
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2556
ปริมาณการขายรวม 500,000 คัน ลดลง 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.0%
รถยนต์นั่ง 200,000 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
รถเพื่อการพาณิชย์ 300,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 285,000 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 250,000 คัน เพิ่มขึ้น 7.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 412,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 168,000 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 70,000 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 238,000 ล้านบาท”
มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปีนี้เป็นปีแรกของการก้าวเข้าสู่ 50 ปีต่อไปของโตโยต้าในประเทศไทย โตโยต้ามีแผนงานที่จะ “ขับเคลื่อนความสุข” หรือ Mobility of Happiness ให้กับลูกค้าและสังคมไทยควบคู่ไปกับการรองรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศเริ่มต้นด้วยการกลับมาผลิตอีกครั้งของโรงงาน โตโยต้า ออโต้ เวิคส (TAW) ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเพื่อผลิตรถตู้ ไฮเอซ คอมมิวเตอร์ ซึ่งเป็นครั้งแรก
ที่มีการผลิตรถรุ่นนี้ในประเทศไทย และโรงงานเกตเวย์2 ที่พร้อมจะเริ่มการผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ในส่วนนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ในปีนี้คือ วีออส ใหม่ และ อีโคคาร์ รวมถึงระบบโตโยต้าสมาร์ท จี-บุ๊ค แอพพลิเคชั่นอัจฉริยะ แบบ 3 มิติ ที่ให้ความชัดเจนแม่นยำมากยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายพร้อมการให้บริการลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มจำนวนโชว์รูมโตโยต้าจากปัจจุบัน 357 แห่ง เป็น 400 แห่ง
รวมถึงโตโยต้า ชัวร์จาก 85 แห่งเป็น 100 แห่ง ภายในปีนี้”
“นอกจากนี้ยังคงมุ่งเน้นส่งเสริมสังคมอย่างต่อเนื่องโดยการสร้างคุณค่าใหม่ขององค์กรผ่าน Social Innovation หรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิผลให้แก่ชุมชนเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โครงการ Smiling road ที่เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา รวมทั้งการส่งเสริมให้มี Eco showroom หรือโชว์รูมประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อการอยู่ร่วมกันกับสังคมไทยอย่างมีความสุขตลอดไป” มร.ทานาดะกล่าวในที่สุด