นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 60,863 คัน ลดลง 12.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,229 คัน ลดลง 25.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 38,634 คัน ลดลง 3.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 31,604 คัน ลดลง 3.9%
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 60,863 คัน ลดลง 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 25.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 3.1% สืบเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อยังไม่ขยายตัว ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย

ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 429,972 คัน ลดลง 15.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 20.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 12.2% สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศยังคงฟื้นตัวช้า ส่งผลทางจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งมีผลถึงตลาดรถยนต์
ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม แนวโน้มทรงตัว จากการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนจากภาครัฐ ที่ส่งผลในเชิงบวกต่อภาพรวมของการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จากค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ดีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2558
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,863 คัน ลดลง 12.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,544 คัน ลดลง 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,999 คัน ลดลง 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,533 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 14.0%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,229 คัน ลดลง 25.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,370 คัน ลดลง 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,836 คัน ลดลง 27.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,242 คัน เพิ่มขึ้น 42.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 31,604 คัน ลดลง 3.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,474 คัน เพิ่มขึ้น 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,958 คัน ลดลง 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,670 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,776 คัน
โตโยต้า 2,123 คัน – อีซูซุ 838 คัน – มิตซูบิชิ 695 คัน – เชฟโรเลต 91 คัน – ฟอร์ด 29 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,828 คัน ลดลง 5.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,351 คัน เพิ่มขึ้น 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,120 คัน ลดลง 8.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,987 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 38,634 คัน ลดลง 3.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,174 คัน เพิ่มขึ้น 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,999 คัน ลดลง 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,697 คัน เพิ่มขึ้น 444.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2558
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 429,972 คัน ลดลง 15.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 145,669 คัน ลดลง 22.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 80,280 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 63,326 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 169,086 คัน ลดลง 20.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 60,655 คัน ลดลง 30.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 44,634 คัน ลดลง 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.4%
อันดับที่ 3 มาสด้า 13,228 คัน เพิ่มขึ้น 53.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 203,210 คัน ลดลง 17.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 78,909 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 73,139 คัน ลดลง 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 18,489 คัน ลดลง 13.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 19,130 คัน
โตโยต้า 7,182 คัน – อีซูซุ 7,053 คัน – มิตซูบิชิ 4,061 คัน – เชฟโรเลต 789 คัน – ฟอร์ด 45 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 184,080 คัน ลดลง 14.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 71,727 คัน ลดลง 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,086 คัน ลดลง 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,189 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 260,886 คัน ลดลง 12.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 85,014 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 80,280 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 18,692 คัน เพิ่มขึ้น 224.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%