มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2557 มีปริมาณการขาย 440,911 คัน ลดลง 40.5% พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2557 เป็น 920,000 คัน ลดลง 30.9%
มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์ครึ่งแรกของปี ในประเทศไทยมียอดขายรวมอยู่ที่ 440,911 คัน มีอัตราการเติบโตลดลง 40.5% โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายลดลง 33.8% ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายลดลง 47.8%
หากเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2556 จะพบว่ายอดขายได้ปรับตัวลง เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงต้นปี ที่ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2557
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2556
ปริมาณการขายรวม 440,911 คัน เปลี่ยนแปลง - 40.5%
รถยนต์นั่ง 183,720 คัน เปลี่ยนแปลง - 47.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 257,191 คัน เปลี่ยนแปลง - 33.8%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 212,024 คัน เปลี่ยนแปลง -35.0%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 185,840 คัน เปลี่ยนแปลง - 37.2%
โดยโตโยต้ามียอดขาย 163,997 คัน ลดลง 30.9% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 76,440 คัน ลดลง 23.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 87,557 คัน ลดลง 36.5% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 82,592 คัน ลดลง 35.6%
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2557
ปริมาณการขายโตโยต้า 163,997 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
รถยนต์นั่ง 76,440 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 87,557 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 82,592 คัน ลดลง 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 72,246 คัน ลดลง 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 230,006 คัน เพิ่มขึ้น 14.9% คิดเป็นมูลค่า 104,908 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 33,076 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 137,984 ล้านบาท”
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2557 มร.ทานาดะ คาดการณ์ว่า ถึงแม้ว่าครึ่งปีแรกตลาดรถยนต์จะลดลงถึง 40.5% แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง เสถียรภาพของการเมืองมีแนวโน้มดีขึ้นควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สร้างความมั่นใจกับลูกค้าให้ดีขึ้นตามลำดับ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้จะมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 920,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 30.9%
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2557
ปริมาณการขายรวม 920,000 คัน ลดลง 30.9%
รถยนต์นั่ง 399,000 คัน ลดลง 36.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 521,000 คัน ลดลง 25.5%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 386,000 คัน ลดลง 27.0 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 52,000 คัน ลดลง 12.2%
โดยโตโยต้าปรับเป้าหมายการขายสำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 330,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 154,000 คัน ลดลง 19.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 176,000 คัน ลดลง 31.1% และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 167,000 คัน ลดลง 29.5%
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2557
ปริมาณการขายรวม 330,000 คัน ลดลง 25.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
รถยนต์นั่ง 154,000 คัน ลดลง 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
รถเพื่อการพาณิชย์ 176,000 คัน ลดลง 31.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 146,000 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 21,000 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 433,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 196,900 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 68,900 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 265,800 ล้านบาท
มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทย มากกว่า 50 ปี เราเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและยังคงยืนยันว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและศูนย์กลางแห่งการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโตโยต้า เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตที่แข่งแกร่งในทุกด้าน และมีการสนับสนุนการผลิตครบวงจร
และที่สำคัญเรามีความภูมิใจที่จะเติบโตไปพร้อมกับคนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน ดั่งความมุ่งมั่นของเรา “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข” มร.ทานาดะกล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมิถุนายน 2557
ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 73,799 คัน ลดลง 30.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,543 คัน ลดลง 27.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,398 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 18.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,087 คัน ลดลง 47.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
ตลาดรถยนต์นั่ง
ปริมาณการขาย 32,934 คัน ลดลง 33.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,785 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,459 คัน ลดลง 48.0% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,502 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 33,659 คัน ลดลง 28.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,797 คัน ลดลง 30.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,377 คัน ลดลง 19.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,519 คัน ลดลง 31.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,920 คัน
โตโยต้า 1,672 คัน – อีซูซุ 1,623 คัน - มิตซูบิชิ 455 คัน - เชฟโรเลต 155 คัน –ฟอร์ด 15 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up
ปริมาณการขาย 29,739 คัน ลดลง 31.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,125 คัน ลดลง 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,754 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,064 คัน ลดลง 21.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 40,865 คัน ลดลง 27.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,758 คัน ลดลง 30.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,398 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,761 คัน ลดลง 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2557
ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 440,911 คัน ลดลง 40.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 163,997 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 83,158 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 18.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 47,283 คัน ลดลง 64.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
ตลาดรถยนต์นั่ง
ปริมาณการขาย 183,720 คัน ลดลง 47.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 76,440 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 42,022 คัน ลดลง 64.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 17,149 คัน ลดลง 60.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 212,024 คัน ลดลง 35.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 82,592 คัน ลดลง 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 77,237 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 17,918 คัน ลดลง 46.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 26,184 คัน
อีซูซุ 11,106 คัน - โตโยต้า 10,346 คัน - มิตซูบิชิ 3,289 คัน - เชฟโรเลต 1,348 คัน - ฟอร์ด 95 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up
ปริมาณการขาย 185,840 คัน ลดลง 37.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 72,246 คัน ลดลง 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,131 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 14,629 คัน ลดลง 38.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 257,191 คัน ลดลง 33.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 87,557 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 83,158 คัน ลดลง 30.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 15,427 คัน เพิ่มขึ้น 11.3 % ส่วนแบ่งตลาด 6.0%