สรุปตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม ยอดขายรวม 60,105 คัน ลดลง 41.7% นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 60,105 คัน ลดลง 41.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,698 คัน ลดลง 48.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,407 คัน ลดลง 37.6% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,296 คัน ลดลง 41.8%

ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมมีปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 48.3% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 37.6% สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ด้วยหลายเหตุปัจจัยทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความสนใจในการซื้อรถใหม่จึงชะลอตัว และผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย
ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 23.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 24.4% เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นอกจากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศและระดับโลก ยังส่งผลต่อภาพรวมของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ต่างๆ ยังคงพยายามหามาตรการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการนำเสนอผลิตภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2563 |
|
|
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,105 คัน ลดลง 41.7% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า |
17,332 คัน |
ลดลง 48.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.8% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ |
13,629 คัน |
ลดลง 21.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 22.7% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า |
7,506 คัน |
ลดลง 31.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 12.5% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,698 คัน ลดลง 48.3% |
อันดับที่ 1 ฮอนด้า |
6,070 คัน |
ลดลง 25.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 29.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
5,406 คัน |
ลดลง 55.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 26.1% |
อันดับที่ 3 มาสด้า |
2,161 คัน |
ลดลง 56.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 10.4% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,407 คัน ลดลง 37.6% |
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
13,629 คัน |
ลดลง 21.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 34.6% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
11,926 คัน |
ลดลง 45.2% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.3% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,930 คัน |
ลดลง 47.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 7.4% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) |
ปริมาณการขาย 30,296 คัน ลดลง 41.8% |
|
|
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
12,634 คัน |
ลดลง 21.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 41.7% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
10,349 คัน |
ลดลง 46.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 34.2% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,930 คัน |
ลดลง 47.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 9.7% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,081 คัน |
โตโยต้า 962 คัน - มิตซูบิชิ 773 คัน - อีซูซุ 640 คัน – ฟอร์ด 419 คัน – เชฟโรเลต 228 คัน – นิสสัน 59 คัน |
|
|
|
|
|
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,215 คัน ลดลง 39.5% |
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
11,994 คัน |
ลดลง 19.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 44.1% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
9,387 คัน |
ลดลง 41.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 34.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
2,157 คัน |
ลดลง 46.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 7.9% |
|
|
|
|
|
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2563 |
|
|
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 200,064 คัน ลดลง 24.1% |
อันดับที่ 1 โตโยต้า |
56,161 คัน |
ลดลง 34.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.1% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ |
42,398 คัน |
ลดลง 5.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 21.2% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า |
28,678 คัน |
ลดลง 4.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 14.3% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 78,385 คัน ลดลง 23.6% |
อันดับที่ 1 ฮอนด้า |
23,959 คัน |
เพิ่มขึ้น 6.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.6% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
18,661 คัน |
ลดลง 39.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 23.8% |
อันดับที่ 3 นิสสัน |
8,691 คัน |
ลดลง 20.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 11.1% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 121,679 คัน ลดลง 24.4% |
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
42,398 คัน |
ลดลง 5.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 34.8% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
37,500 คัน |
ลดลง 32.2% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.8% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
9,835 คัน |
ลดลง 29.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 8.1% |
|
|
|
|
|
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) |
ปริมาณการขาย 96,963 คัน ลดลง 26.9% |
|
|
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
39,620 คัน |
ลดลง 4.8% |
ส่วนแบ่งตลาด 40.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
32,733 คัน |
ลดลง 33.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.8% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
9,835 คัน |
ลดล 29.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 10.1% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 9,840 คัน |
โตโยต้า 3,320 คัน – มิตซูบิชิ 2,626 คัน – อีซูซุ 1,763 คัน – ฟอร์ด 1,298 คัน – เชฟโรเลต 544 คัน –นิสสัน 289 คัน |
|
|
|
|
|
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 87,123 คัน ลดลง 24.3% |
อันดับที่ 1 อีซูซุ |
37,857 คัน |
ลดลง 2.5% |
ส่วนแบ่งตลาด 43.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า |
29,413 คัน |
ลดลง 29.4% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.8% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ |
7,209 คัน |
ลดลง 29.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 8.3% |
|