dot dot
dot
dot



car2day

Next gen ford,ranger,raptor



ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi (มี VDO ทดสอบการชน)





ฮอนด้าเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเสมอมา ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ (โตชิกิ) จึงเป็นศูนย์วิจัยที่มีเทคโนโลยีการวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังมีสนามทดสอบรถยนต์ (Tochigi Proving Ground) ที่สามารถนำผลการทดสอบรถยนต์มาใช้ในกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้ทันที ฮอนด้ามีระบบการวิจัยและพัฒนาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและมีทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ฮอนด้าจึงสามารถสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพ และมีมาตรฐานความปลอดภัยครบครัน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง เพื่อความสะดวกสบายในการใช้รถ และสร้างความสนุกในทุกการขับขี่


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

ห้องทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์
 
ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม

ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

อาคารทดสอบการชนในร่ม (การชนจากหลายทิศทาง)

ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

อุโมงค์ทดสอบทิศทางลม Full-Scale Wind Tunnel


อาคารทดสอบการชน

อาคารทดสอบการชนในร่มที่บริษัท ฮอนด้า อาร์ แอนด์ ดี จำกัด ศูนย์โตชิกิ สามารถทดสอบการชนได้ในทุกสภาพอากาศ เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี 2543 ด้วยเงินลงทุนกว่า 6,800 ล้านเยน (หรือประมาณ 2,100 ล้านบาท) อาคารทดสอบแห่งนี้สามารถรองรับการทดสอบการชนกับวัตถุกีดขวาง และการชนระหว่างรถสองคันที่จำลองจากสถานการณ์อุบัติเหตุจริงบนท้องถนนได้ด้วย

อาคารแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 41,000 ตารางเมตร และมีเลนทดสอบทั้งหมด 8 เลนที่สร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นรัศมีของวงกลม โดยเลนทดสอบแต่ละเลนมีมุมห่างกัน 15 องศา สามารถรองรับการชนได้จากทุกทิศทาง และยังสามารถทดสอบการชนระหว่างรถสองคันที่มีความเร็วต่างกัน รวมถึงรถสองคันที่มีขนาดต่างกัน เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุก นอกจากนี้ ยังสามารถจำลองอุบัติเหตุการชนระหว่างรถยนต์และคนเดินเท้าได้อีกด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการวิเคราะห์สถานการณ์การชนในแนวกว้าง เนื่องจากเป็นอาคารทดสอบการชนในร่มจึงสามารถทดสอบการชนได้ในทุกสภาพอากาศ และยังช่วยลดเวลาการวิจัยและพัฒนาอีกด้วย

ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัย ในการนำเสนอนวัตกรรมที่ล้ำหน้าเหนือกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในปัจจุบัน ฮอนด้ามุ่งมั่นใช้อาคารทดสอบการชนแห่งนี้ ในการจำลองสถานการณ์อุบัติเหตุจริงบนท้องถนน เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์ไปอีกขั้น

ฮอนด้าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเสมอมา ไม่เพียงแต่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยในขั้นตอนการผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่ และการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วย

ฮอนด้าจึงเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นบริษัทแรกในประเทศญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบเบรกป้องกันล้อล็อก และติดตั้งระบบถุงลม SRS ในรถยนต์

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาคารทดสอบการชน

พื้นที่ทั้งหมด:  41,000 ตารางเมตร (หรือประมาณ 25.625 ไร่) 
ขอบเขตอาคาร:   ทิศเหนือจรดทิศใต้ 272 เมตร
ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 178 เมตร
ความสูงหลังคา 15 เมตร
เลนทดสอบทั้งหมด:  8 เลน (0º 15º 30º 45º 60º 75º 90º 180º)
ความยาวของเลนทดสอบ: 130 เมตร (ในแต่ละเลน)
(เมื่อรวมทั้งสองด้านมีความยาวสูงสุด 260 เมตร)
อัตราเร่งสูงสุด:   80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เมื่อรถสองคันวิ่งเข้าหากัน) 

โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชน
เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับทุกคน

1. ข้อมูลเบื้องต้น
โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนคืออะไร

โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนยกระดับความปลอดภัยไปอีกขั้น โดยจะช่วยปกป้องผู้โดยสารในรถทั้งสองคันที่เกิดการชน ไม่ว่ารถที่ชนจะเป็นคันเล็กหรือคันใหญ่ก็ตาม

การเคารพปัจเจกบุคคลเป็นหนึ่งในปรัชญาของฮอนด้า และได้นำมาประยุกต์ใช้กับความปลอดภัยด้วย ฮอนด้าจึงได้มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างตัวถังที่รองรับการชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยี G-Force Control ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทก (g-force) และลดการบาดเจ็บ เมื่อเกิดการชน


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground


2. จากการวิจัยของฮอนด้าพบว่ามีลักษณะการชนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ โดยได้นำลักษณะดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารในรถทั้งสองคันเมื่อเกิดการชน

นักวิจัยของฮอนด้าได้เปิดเผยถึงความสำคัญของโครงสร้างตัวถังที่รองรับการชน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ตั้งแต่ในขั้นต้น ฮอนด้าได้เริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาโครงสร้างตัวถังที่ปลอดภัยมาตั้งแต่ยังไม่มีกฎหมายกำหนด

ฮอนด้าจึงได้เริ่มศึกษาลักษณะการชนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ โดยได้นำลักษณะดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารในรถทั้งสองคัน และค้นหาวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

 
3. วิธีการของฮอนด้าในการนำลักษณะการชนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ มาวิเคราะห์

จากการวิจัยของฮอนด้าพบว่า โครงสร้างตัวถังแบบเดิมดูดซับแรงกระแทกได้เฉพาะบริเวณโครงสร้างหลักของรถทั้งสองคันเท่านั้น ฮอนด้าจึงได้พัฒนาโครงสร้างตัวถังที่เพิ่มบริเวณที่รองรับแรงกระแทกเมื่อเกิดการชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ช่วยให้โครงสร้างด้านหน้ารถอยู่ในระดับเดียวกัน
2. ช่วยกระจายแรงจากการชนด้านหน้า
3. ดูดซับแรงกระแทกได้มากขึ้น


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground


4. ฮอนด้าจึงได้ก่อสร้างอาคารทดสอบการชนในร่ม (การชนจากหลายทิศทาง) แห่งแรกในโลก ด้วยความมุ่งมั่นในการเพิ่มความปลอดภัยในสถานการณ์อุบัติเหตุจริงบนท้องถนน

ฮอนด้าเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายแรกในโลกที่ก่อสร้างอาคารทดสอบการชนในร่ม เพื่อการวิจัยด้านความปลอดภัยในสถานการณ์อุบัติเหตุจริงบนท้องถนน ฮอนด้าจึงมุ่งมั่นเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยการวิเคราะห์อุบัติเหตุ และริเริ่มการวิจัยด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างตัวถังที่ช่วยลดแรงกระแทกขณะเกิดการชน

หมายเหตุ: โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนได้รับการพัฒนามาจากเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของฮอนด้า ที่มุ่งลดความเสียหายที่เกิดจากการชนกับรถที่มีขนาดใหญ่กว่า และป้องกันความเสียหายของรถที่มีขนาดเล็กกว่า  พร้อมทั้งปกป้องผู้โดยสารในรถทุกคันเมื่อเกิดการชน

5. โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนทำงานอย่างไร

โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนมีคุณสมบัติ
1. ช่วยให้โครงสร้างด้านหน้ารถอยู่ในระดับเดียวกัน
2. ช่วยกระจายแรงจากการชนด้านหน้า
3. ดูดซับแรงกระแทกได้มากขึ้น


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground


6. ผลที่เกิดขึ้นของโครงสร้างตัวถังที่รองรับการชน

จากการทดสอบการชนพบว่า โครงสร้างตัวถังที่รองรับการชนมีประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยในการปกป้องผู้โดยสารของรถทั้งสองคันมากกว่า แม้จะเป็นการชนระหว่างรถใหญ่กับรถเล็กก็ตาม


ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ Tochigi,ศูนย์วิจัย Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ Tochigi,สนามทดสอบรถยนต์ โตชิกิ,ศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์โตชิกิ,Tochigi Proving Ground

 




TOKYO MOTOR SHOW 2015

ทดสอบรถ Honda BR-V สปอร์ตครอสโอเวอร์น้องใหม่ (มี VDO)
พาชม Honda Collection Hall ประเทศญี่ปุ่น (มี VDO)
ฮอนด้าเผยยนตรกรรมล้ำสมัยใน Tokyo MotorShow 2015 (มี VDO)
ฮอนด้า ซีอาร์-วี ซิตี้ และ แจ๊ซ ผ่านความปลอดภัย 5 ดาว ASEAN NCAP (มี VDO)
พาชมรถจักรยานยนต์ใน Tokyo MotorShow 2015 (มี VDO)



Copyright © 2011 All Rights Reserved.